แนวคิดสหกรณ์

 
สหกรณ์ทางรอดทางเดียวของไทย
“ตาข่ายสหกรณ์ ที่ขึงอยู่ทั่วประเทศ คือ สายรยางค์ ที่โยงอำนาจของคนไทยแต่ละคนเข้าด้วยกัน จนกลายเป็นอำนาจของปวงชน ความสำเร็จของตาข่ายสหกรณ์ ก็คือ ความสำเร็จของอำนาจที่มาจากปวงชน อำนาจของปวงชน ที่เกิดขึ้นจากอำนาจของราษฎรแต่ละคนในกลุ่มสหกรณ์นี้ เป็นอำนาจสำหรับบริหารประเทศอย่างแท้จริง เป็นอำนาจบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรเจือปนและแอบแฝง เมื่อใช้อำนาจของปวงชนอันบริสุทธิ์นี้เข้าบริหารประเทศแล้ว ประชาธิปไตยบริสุทธิ์ก็จะเกิดขึ้น – คือ ประชาธิปไตยของปวงชน”
ผังแสดงบทบาทของตาข่ายสหกรณ์ ซึ่งควรจะจัดขึ้นในประเทศไทยอย่างเร่งด่วน
ผังที่ 1

แสดงตาข่ายของกลุ่มสหกรณ์ทั่วประเทศ ที่ป้องกันไม่ให้นักการเมืองที่มุ่งกอบโกยหาประโยชน์ส่วนตัวเล็ดลอดแทรกเข้าไป ยึดครองอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมืองในสังคมได้โดยสะดวก กลุ่มสหกรณ์เหล่านี้จะผนึกกำลังรวมกันส่งผู้แทนในแต่ละจังหวัดเข้าไปนั่งในรัฐสภา เสียงของสหกรณ์ในรัฐสภาจะมีมากขึ้นตามจำนวนสมาชิกทั่วประเทศ และในที่สุดจะคุมเสียงรัฐสภาได้ และสามารถตั้งรัฐบาลสหกรณ์ขึ้นได้ ความเติบโตของกลุ่มสหกรณ์ ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ วิสันของมนุษย์ที่ต้องการอยู่ดี กินดี มีอิสระและเสรีภาพในการดำรงชีวิต จะทำให้เกิด รัฐสหกรณ์ ที่เพียบพร้อมไปด้วย สวัสดิการ ในที่สุด

 
 
ผังที่ 2

แสดงอานุภาพของขบวนการณ์สหกรณ์ ที่สามารถดึงเจ้าของแรงงานผู้ยากจน ออกมาจากกลุ่มนายทุนได้อย่างสงบ เพราะในกลุ่มสหกรณ์เจ้าของแรงงานมี รายได้ ดีกว่าในกลุ่มนายทุน และสามารถดึงเจ้าของแรงงานผู้ยากจนออกมาจากกลุ่มคอมมิวนิสต์ได้อย่างสงบ เพราะในกลุ่มสหกรณ์เจ้าของแรงงานมี เสรีภาพ และ รายได้ มากกว่า และทำงานได้ อย่างอิสระ ดีกว่าในกลุ่มคอมมิวนิสต์ ควรสังเกตว่า นายทุน และ คอมมิวนิสต์ ถูกตาข่ายสหกรณ์ล้อมให้ยืนตาย เพราะ เจ้าของแรงงานที่ยากจนผละไปเข้ากลุ่มสหกรณ์มากขึ้นทุกที

สังคมทุนนิยม (Capitalism) และเศรษฐกิจผสม (MiXed Economy) รัฐรวบอำนาจ

ประชาชนเป็นฐานรองรับชั้นเหนือขึ้นไป

  • ประชาชนเป็นฐานเจดีย์ (Pyramid Type)
  • สังคมเจดีย์มียอด (Vertical)
  • รวบอำนาจ (Centralized)
  • เผด็จการชนชั้น (Class Dictatorship)
  • เงินยังมีอำนาจทำหน้าที่สื่อการแลกเปลี่ยนไม่สมบูรณ์ ไม่ซื่อตรง ยังมีการอาศัยอำนาจเงิน เบียดเบียนกัน
  • ประชาชนอยู่ใต้รัฐ
  • ประชาชนอยู่ใต้การนำของชนกลุ่มน้อย
  • ความเป็นธรรมในสังคมไม่สมบูรณ์ (Social Justice incomplete)
 
ข้อเปรียบเทียบสังคมนิยมกับสหกรณ์
สังคมนิยม
  • รวบอำนาจ
  • มีพรรคการเมืองได้พรรคเดียว
  • ไม่มีเสรีภาพ ไม่มีอิสรภาพ ไม่มีความเสมอภาค ไม่มีสันติภาพ (เพราะเอาเวรไปล้างเวร เอาเลือดไปล้างโลก)
  • รัฐครองสังคม(โดยพรรคสังคมนิยมและผู้เผด็จการ)
  • รัฐจัดสวัสดิการ
  • ปันผลงาน(รายได้) ตามความจำเป็นที่ต้องใช้ (คือต้องการจริงๆไม่ยอมให้มีเหลือเก็บ เพรากลับจะกลายเป็นนายทุน)
  • รัฐบาลบงการชีวิตประชาชน
  • ไม่มีสิทธิมนุษยชน(Human Rights)
  • ไม่มีสิทธิโดยธรรมชาติ(Natural Right)
  • รวบประชาชนเป็นมวลชนทั้งประเทศแล้วบงการโดยรัฐ(ผู้เผด็จการ)
  • มีการกินแรงระหว่างรัฐกับเอกชน จึงมีชนชั้น คือ ชนชั้นปกครองกับชนชั้นแรงงาน
  • ประชาชนต้องเสียสละให้สังคมโดยการชักชวน หรือบังคับกดขี่
  • เงินไม่มีอำนาจ
  • อยู่ร่วมกับทุนนิยมไม่ได้ และทำร้ายนายทุน
  • มีผู้นำที่แสวงอำนาจ และยึดอำนาจ จึงมีการแย่งอำนาจกัน เพราะอำนาจเป็นของคณะและของบุคคล
  • สังคมนิยมเป็นการเมือง
  • สังคมนิยม(คอมมิวนิสต์) ไปกับทุนนิยมไม่ได้ เพราะทำลายทุนนิยม
  • บุคคลเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
  • เอากำลังแก้ปัญหา
  • เอาเลือดล้างกิเลส
  • ประชาชนพึ่งรัฐ
  • สร้างจากการแตกแยกทำลาย
  • ประชาชนอยู่ในกรงขัง
  • คิดได้ในวงจำกัด
  • สวยอย่างตะโกดัด
  • ไม่มีเสรีในทรัพย์
  • สุขด้วยวัตถุ
  • ไม่มีกตัญญู
  • ลัทธิอยู่เหนือชีวิต
  • ไม่นับถือคำมั่นสัญญา
  • ความสำเร็จของลัทธิอยู่เหนือสิ่งใด
  • ศิลปะเพื่อชีวิต
  • อยู่เพื่ออนาคตที่ยังมองไม่เห็น
  • ลัทธิสำคัญกว่าความรัก
  • สังคมสำคัญกว่าคน
  • ประเมินคุณค่าของคนด้วยวัตถุ
  • วัตถุอยู่เหนือจิต
  • ไม่ต้องการศาสนา
  • ประชาชนรับคำสั่ง
  • ครองสังคมไม่จำกัดเวลา
  • ปกครองด้วยอุบาย
  • สังคมนิยมเป็นสังคมเจดีย์(Vertical)
  • สังคมนิยมปฏิวัติสังคม
สหกรณ์
  • กระจายอำนาจ
  • มีพรรคการเมืองได้หลายพรรคอย่างเสรี
  • มีเสรีภาพ มีอิสรภาพ มีความเสมอภาค ไม่มีสันติภาพ (เพราะไม่เอาเวรไปล้างเวร ไม่เอาเลือดไปล้างโลก)
  • ประชาชนครองสังคม(ไม่มีผู้เผด็จการ)
  • ประชาชนจัดสวัสดิการเอง
  • ปันผลงาน(รายได้) ตามมูลค่าของแรงงานที่ทำงาน ให้มีเหลือเก็บอย่างเสรีเพื่อให้ความสุขแก่ชีวิตเต็มที่ตามธรรมชาติ
  • รัฐบาลเป็นได้เพียงผู้จัดการอยู่ใต้บังคับของประชาชน
  • มีสิทธิมนุษยชน(Human Rights)
  • มีสิทธิโดยธรรมชาติ(Natural Right)
  • ไม่รวบประชาชนเป็นมวลชนทั้งประเทศ แต่ซอยประชาชนออกเป็นกลุ่มๆ ตามอาชีพและความต้องการ แต่ละกลุ่มเป็นอิสระแก่กัน มีการประสานประโยชน์กันระหว่างกลุ่ม
  • ไม่มีการกินแรงระหว่างรัฐกับเอกชน หรือระหว่างเอกชนกับเอกชน การกินแรงมีไม่ได้ไม่ว่าในลักษณะใดๆ เมื่อการกินแรงไม่มี ชนชั้นก็ไม่มี (classless)
  • ประชาชนเสียสละให้สังคมด้วยเสรีภาพทางใจ
  • เงินไม่มีอำนาจ(ตรงกัน)
  • อยู่ร่วมกับทุนนิยมได้ และไม่ทำร้ายนายทุน
  • ไม่มีผู้นำที่แสวงอำนาจ และยึดอำนาจ ไม่มีการแย่งอำนาจกัน อำนาจเป็นของประชาชนทุกคน
  • สังคมเป็นการบ้าน(ควรรีบประยุกต์เป็นการเมืองเพื่อให้ทันสังคมนิยม)สังคมเป็นการบ้าน(ควรรีบประยุกต์เป็นการเมืองเพื่อให้ทันสังคมนิยม)
  • สหกรณ์ไปกับทุนนิยมได้ เพราะไม่ทำลายทุนนิยม
  • ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
  • เอาปัญญาแก้ปัญหา
  • เอาปัญญาล้างกิเลส
  • ประชาชนพึ่งตัวเอง
  • สร้างจากสามัคคี
  • ประชาชนอยู่ในบ้าน
  • คิดได้อย่างกว้างขวางไม่มีขอบเขต
  • งามอย่างธรรมชาติ
  • สุขด้วยใจ
  • ด้วยใจ
  • บูชากตัญญูสุขู
  • ชีวิตอยู่เหนือลัทธิ
  • นับถือคำมั่นสัญญา
  • ความสำเร็จของชีวิตอยู่เหนือสิ่งใด
  • ศิลปะเพื่อศิลปะ
  • อยู่เพื่อปัจจุบันที่ยังมองเห็น
  • ความรักสำคัญกว่าลัทธิ
  • คนสำคัญกว่าสังคม
  • ประเมินคุณค่าของคนด้วยจิตใจ
  • จิตอยู่เหนือวัตถุ
  • ต้องการศาสนา
  • ประชาชนออกคำสั่ง
  • ครองสังคมจำกัดเวลา
  • ปกครองด้วยสัจจธรรม
  • สหกรณ์เป็นสังคมพื้นราบ(Horizontal)
  • สหกรณ์ปฏิรูปสังคม
หมายเหตุ

สหกรณ์อยู่กลาง เข้ากับทุนนิยมได้ เพราไม่ทำร้ายนายทุน เข้ากับสังคมนิยมได้ เพราะมีคนจนเป็นเป้าร่วม สหกรณ์เป็นกันชนระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม
Top